ลำไส้แปรปรวน รักษายังไงดี ?

ลำไส้แปรปรวน

ลำไส้แปรปรวน รักษายังไงดี ?

 

ลำไส้แปรปรวน คืออะไร 

ลำไส้แปรปรวน เป็นภาวะความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของลำไส้ใหญ่ที่พบได้บ่อย จะมีอาการอาการปวดเกร็ง หรือรู้สึกอึดอัดบริเวณท้อง โดยมักจะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ร่วมกับการขับถ่ายที่ผิดปกติ เช่นท้องเสีย หรือ ท้องผูกผิดปกติ หรือ ท้องผูกสลับท้องเสีย  จนอาจจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ 

ลำไส้แปรปรวน มีอาการอย่างไร ? 

ลำไส้แปรปรวน เป็นความผิดปกติของระบบลำไส้ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่มักพบบ่อยในกลุ่ม วัยทำงาน ด้วยการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ บวกกับภาวะความเครียด และการรับประทานอาหาร ที่อาจจะไม่ทันได้ใส่ใจสุขภาพมากนัก ทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น
ลักษณะอาการที่ชี้ได้ว่าคุณมีภาวะลำไส้แปรปรวน ได้แก่ 

    • อาการปวดบีบท้องบริเวณท้องล่าง รู้สึกเป็น ๆ หาย ๆ มีระยะเวลานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป 
  • ความผิดปกติของการขับถ่าย เช่น ถ่ายบ่อยขึ้นถี่ขึ้นกว่าเดิมหรือลักษณะอุจจาระเปลี่ยนไป เช่น ถ่ายเหลว หรือ ท้องผูกมากผิดปกติ 
  • อาการท้องอืด มีแก๊สในลำไส้มาก 

ภาวะลำไส้แปรปรวน มักจะมีการทำงานที่ผิดปกติของทางเดินอาหารเพียงอย่างเดียว ไม่มีอาการผิดปกติอื่น เช่น ภาวะโลหิตจาง น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว มีไข้ คลื่นไส้รุนแรง หรือ ถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย หากใครที่มีอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรพบแพทย์ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง 

สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน

แม้ว่าปัจจุบันอาจจะยังไม่สามารถบ่งชี้ สาเหตุของการเกิด ลำไส้แปรปรวน ได้แน่ชัด แต่มักจะเกิดจากปัจจัยร่วมหลายประการ เช่น

  • ปัจจัยส่วนบุคคล 
  • เกิดจากพันธุกรรม  แม้ว่า ลำไส้แปรปรวนไม่ได้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอย่างชัดเจน แต่พบว่าหากคนในครอบครัวมีประวัติ ก็มีโอกาสเกิดลำไส้แปรปรวนได้ 2 – 3 เท่า 
  • การเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่มีปัญหาลำไส้แปรปรวน ส่วนใหญ่มักมีชนิด และจำนวนของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่แตกต่างจากคนปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวนขึ้นได้ 
  • ปัจจัยด้านจิตใจ เช่น ความกังวล หรือความเครียด  เป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน และอาจจะเสริมให้อาการเหล่านั้นรุนแรงขึ้นได้ 
  • ปัจจัยจากสภาพแวดล้อม 
  • อาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน อาหารบางประเภท เป็นตัวกระตุ้นในเกิดภาวะลำไส้แปรปรวน ขึ้นได้ เช่น อาหารที่ปรุงด้วยความร้อนสูง ปิ้ง ย่าง ทอด  อาหารแปรรูป  อาหารไขมันสูง น้ำตาลสูง
  • การรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน
  • ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร  

แนวทางการรักษา และการดูแลตัวเองเมื่อพบว่ามีภาวะ ลำไส้แปรปรวน

การรักษา ลำไส้แปรปรวนจะขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรงของโรค  หากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่า มีภาวะลำไส้แปรปรวน จะแบ่งการรักษาเป็น 2 วิธีหลัก ๆ  ดังนี้ 

  • รักษาอาการด้วยยา 
  • ยาช่วยลดอาการบีบเกร็งของลำไส้ เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะ ลำไส้แปรปรวน จะมีอาการบีบเกร็งของลำไส้มากผิดปกติ ยาชนิดนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณลำไส้คลายตัว บรรเทาอาการปวดบีบ บริเวณท้อง 
  • ยาช่วยกระตุ้นการขับถ่าย สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก ช่วยให้สามารถขับถ่ายได้เป็นปกติมากขึ้น 
  • ยาช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการท้องเสียผิดปกติ
  • แนวทางการรักษาแบบไม่ใช้ยา 
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หันมาใส่ใจการดูแลสุขภาพของตัวเองมากขึ้น เช่น ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น และรับประทานอาหารให้ตรงเวลา พักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยปรับสมดุล ลำไส้ ให้ระบบการทำงานภายในร่างกายเป็นปกติ และยังช่วยลดความเครียดที่เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้น อาการลำไส้แปรปรวน อีกด้วย 
  • เลี่ยงการทานอาหารบางประเภท ที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน โดยสังเกตจากการรับประทานอาหารเฉพาะบุคคล ว่าอาหารประเภทไหนที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น บางคนอาจจะถูกกระตุ้นได้ง่าย ด้วย น้ำอัดลม ที่ทำให้เกิดแก๊สจำนวนมากในลำไส้ 

หากพบว่ามีอาการลำไส้รั่วร่วมด้วย อาจต้องปรับอาหารเป็นกลุ่ม Low FODMAPs เป็นกลุ่มอาหารที่มีคาร์โบไฮเดตรชนิดย่อยยากต่ำ เช่น ข้าวโอ๊ต นมที่ไม่มีแลคโตส กล้วย แครอท ส้ม เป็นต้น อย่างไรก็ตามการทาน Low FODMAPs ไม่ควรทำเป็นระยะเวลานาน และควรทำภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ

  • เสริม Probiotics หรือ แบคทีเรียดี ให้กับร่างกายมากขึ้น เนื่องจาก Probiotics เป็นจุลินทรีย์ในลำไส้ ที่ช่วยสร้างความสมดุลให้กับลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายกลับมาเป็นปกติ 

ลำไส้แปรปรวน ถือเป็นความผิดปกติของการทำงานภายในร่างกายที่สามารถพบในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตประจำวัน บนความเร่งรีบ อาจนำมาซึ่งความเครียด และพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ เป็นสาเหตุให้หลายคนต้องเผชิญกับอาการลำไส้แปรปรวน จนกระทบต่อคุณภาพการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งภาวะนี้ยังสามารถจัดการได้ ด้วยการดูแลตัวเอง หันมาใส่ใจกับสุขภาพร่างกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ หาวิธีจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น แต่หากพบอาการที่น่าสงสัย ผิดปกติ ก็ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัย และทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง 

 

How Should Irritable Bowel Syndrome Be Treated?

What is Irritable Bowel Syndrome?

Irritable Bowel Syndrome (IBS) is a common disorder affecting the function of the large intestine. Symptoms often include abdominal cramps or discomfort, typically experienced as recurring pain over an extended period, along with irregular bowel movements such as diarrhea or constipation. These symptoms can significantly impact daily life.

What Are the Symptoms of Irritable Bowel Syndrome?

IBS is a functional disorder that can affect individuals of any age or gender, though it is particularly common among working-age adults. The fast-paced lifestyle and daily stress that many encounter are key triggers for IBS. Combined with environmental factors and less-than-ideal dietary habits, these factors can increase the likelihood of developing IBS.  

Symptoms indicating IBS include:  

– Abdominal Pain: The primary symptom is cramping or pain in the lower abdomen, which occurs intermittently and persists for more than six months.

– Irregular Bowel Movements: There may be changes in bowel habits, such as an increase in frequency or alterations in stool consistency, including diarrhea or severe constipation.

– Bloating: Some individuals may also experience bloating or excessive gas.

IBS typically involves only gastrointestinal symptoms without other concerning signs like anemia, rapid weight loss, fever, severe nausea, or blood in the stool. If you experience any of these additional symptoms, it’s important to consult a doctor for a thorough examination and accurate diagnosis.

Causes of Irritable Bowel Syndrome (IBS)

While the exact causes of IBS are not yet fully understood, several factors are known to contribute to its development:

  1. Personal Factors

   – Genetics: Although IBS is not strictly hereditary, individuals with a family history of the condition are 2 to 3 times more likely to develop it.

   – Changes in Gut Microbiome: Patients with IBS often have a different composition of gut bacteria compared to those without the condition, which can trigger IBS symptoms.

   – Psychological Factors: Anxiety and stress are significant triggers for IBS and can exacerbate its symptoms.

  1. Environmental Factors

   – Diet: Certain foods can trigger IBS symptoms, such as high temperature cooked food, ultra processed food, high fat or sugar food, alcohol, or spicy foods. It may be necessary for some patients to avoid specific foods to reduce the risk and severity of symptoms.

   – Gastrointestinal Infections: Infections in the digestive tract can also contribute to the development of IBS.Treatment and Self-Care for IBS

The treatment of IBS depends on the severity of the symptoms. Once diagnosed by a doctor, treatment typically follows one of two main approaches:

  1. Medication

   – Antispasmodic Medication: These medications help to reduce abnormal intestinal contractions, relieving abdominal cramping associated with IBS.

   – Laxatives: For patients experiencing constipation, laxatives can help normalize bowel movements.

   – Antidiarrheal Medication: For patients with chronic diarrhea, these medications can provide relief.

  1. Non-Medication Approaches

   – Lifestyle Changes: Adopting a healthier lifestyle can significantly improve IBS symptoms. This includes eating a balanced diet, maintaining regular meal times, getting enough rest, and exercising regularly. These habits can help restore gut balance and reduce stress, a major trigger for IBS.

   – Avoid Trigger Foods: Identifying and avoiding foods that trigger IBS symptoms is crucial. For some, carbonated drinks can lead to excessive gas and bloating.

     – Consumer Low FODMAP Diet for a certain period: Incorporating foods low in fermentable carbohydrates (Low FODMAPs), such as oats, lactose-free milk, bananas, carrots, and oranges, can be beneficial.  Anyway, to start low FODMAP, one should consult a dietitian for safety.

   – Probiotics: Increasing the intake of probiotics, or “good bacteria,” can help balance the gut microbiome, aiding in regular bowel movements.

IBS is a common functional disorder that can affect people of all ages and genders. The fast-paced and stressful nature of modern life, along with poor dietary habits, often contribute to the prevalence of IBS, which can significantly impact the quality of life. However, with proper self-care—such as focusing on a healthy diet, regular exercise, and stress management—IBS symptoms can be managed effectively. If any unusual or severe symptoms occur, it is important to consult a specialist for accurate diagnosis and treatment.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save