What are microbiomes?

สิ่งเล็ก ๆ ที่สร้างให้ชีวิตเราต่างกัน

สุขภาพของแต่ละคน
ต้องการการดูแลที่ต่างกัน

เคยสงสัยไหมว่า...

สุขภาพของแต่ละคน
ต้องการการดูแลที่ต่างกัน

เคยสงสัยไหมว่า...

อ้วนง่าย อ้วนยาก ต่างกันตรงไหน?
ท้องเสียบ่อย ทั้งที่กินเหมือนเพื่อน
กินผักให้ตาย ก็ยังท้องผูกอยู่เลย
ฟันผุทั้งที่ไม่ได้กินของหวาน แปรงฟันทุกวันก็ยังผุอยู่
ภูมิแพ้ แพ้ง่าย เมื่อไหร่จะชนะกับเขาบ้าง?
ใครเป็นหวัด เราพร้อมติดได้เสมอ

จุลินทรีย์

ชีวิตเล็ก ๆ ที่ถูกเข้าใจผิดมาตลอด

จุลินทรีย์อาศัยในคน หรือ คนต้องอาศัยจุลินทรีย์

รู้หรือไม่? ในลำไส้ของมนุษย์เรานั้น มีจุลินทรีย์และแบคทีเรียประมาณ 30 – 400 ล้านล้านล้านตัว ซึ่งมีจำนวนมากกว่าเซลล์ของเราถึง 1.1 เท่า เราจึงเรียกจุลินทรีย์เหล่านี้ ว่าเป็นอวัยวะที่ 33 ของร่างกาย และมีความสำคัญต่อระบบต่างๆ ในร่างกายของเรา

โปรดอย่าเข้าใจฉันผิด

เมื่อพูดถึงคำว่าจุลินทรีย์หรือแบคทีเรีย คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าเป็นตัวที่ทำลายสุขภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์เหล่านั้น ก็มีทั้งตัวที่ดีและไม่ดี ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพก็ต่อเมื่อจุลินทรีย์ในร่างกายเกิดความไม่สมดุล จุลินทรีย์ตัวดีมีน้อยเกินไป  ไม่สามารถควบคุมจุลินทรีย์ตัวร้ายได้ จริงๆ แล้วจุลินทรีย์ตัวดีมีประโยชน์และจำเป็นต่อสุขภาพมาก เพราะเป็นตัวช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ให้อาหารเซลล์ และสามารถปกป้องสุขภาพของเราจากแบคทีเรียตัวร้าย และไวรัสได้อีกด้วย

จุลินทรีย์ตัวดี เรียกว่า Probiotics
ในทางการแพทย์ มีการวินิจฉัยยืนยันว่าช่วย (อ่านเพิ่มเติม)
  • ช่วยให้การขับถ่ายของคุณเป็นเรื่องง่าย
    เพราะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้
  • ช่วยรักษาสุขภาพลำไส้ สกัดการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
    จะเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินอาหาร  เมื่อลดจำนวนเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคลง สุขภาพของคุณก็จะดีขึ้นในที่สุดและยังช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีขึ้นตามไปด้วย
  • กระตุ้นภูมิต้านทาน
    เพราะ 70% ของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรานั้นอยู่ที่ลำไส้ซึ่งแบคทีเรียตัวดีจะช่วยกระตุ้น และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  
  • ผลิตวิตามินหลายชนิด
    ที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ วิตามินบี 1, บี 2, บี 6, บี 12 , วิตามินอี, วิตามินเค, กรดแพนโทเทนิก และกรดโฟลิก เป็นต้น ซึ่งถ้าไม่มีโพรไบโอติกส์เหล่านี้ ร่างกายของเราก็จะไม่สามารถดึงวิตามินที่จำเป็นเหล่านี้มาใช้ได้
  • ชะลอวัย
    ช่วยยับยั้งความแก่ชราและป้องกันมะเร็ง โพรไบโอติกส์มีส่วน ช่วยอย่างมากในการยับยั้งการผลิตอนุมูลอิสระ ภายในลำไส้ หรือสารพิษต่างๆ ที่ทำให้เกิดการอักเสบภายใน
  • ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
    มีบทบาทสำคัญในการลดการอักเสบ เพราะช่วยขับอุจจาระที่ตกค้าง และลดการเกิดสารพิษจากจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรค ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจอักเสบได้
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด
    โดยเฉพาะมะเร็งในลำไส้ใหญ่ เมื่อมีโพรไบโอติกส์เพียงพอจะช่วยป้องกันร่างกายให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งได้

อย่างไรก็ตาม Probiotics แต่ละสายพันธุ์ ทำหน้าที่ได้ไม่เหมือนกัน และในทางเดินอาหารของแต่ละคนก็มีจุลินทรีย์ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจะรู้ได้อย่างไรว่าใครต้องการเสริม Probiotics ชนิดไหน เพื่อเหมาะกับสุขภาพของตัวเองอย่างแท้จริง

คำตอบคือ การตรวจจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร เพื่อเข้าใจจุลินทรีย์ของตัวเอง
และดูแลสุขภาพที่เหมาะเฉพาะบุคคล เลือกรับประทาน Probiotics ที่เหมาะกับตัวเอง

สาระดีๆ จาก Gut Microbiome Talk

เมื่อจุลินทรีย์เสียสมดุล

ส่งผลต่อสุขภาพในด้านต่างๆ เช่น

นอนไม่หลับ

เมื่อเกิดความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ปริมาณแบคทีเรียที่ดีจะถูกแทนที่ด้วยแบคทีเรียตัวร้าย ทำให้การสร้างวิตามินและสารสื่อประสาท เช่น serotonin, dopamine และ GABA มีปริมาณลดลงตามแบคทีเรียตัวดีที่เป็นผู้สร้าง ทำให้มีผลกระทบต่อการนอนหลับ

ภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อง่าย

การที่รักษาสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้มีผลต่อการต้านทานการติดเชื้อ เมื่อแบคทีเรียประจำถิ่นที่เกาะอยู่บนผนังลำไส้มีปริมาณลดลง แบคทีเรียก่อโรคจะสามารถบุกเข้ามาทำลายเซลล์เยื่อเมือกและหลั่งสารเคมีทำให้เกิดการอักเสบ อีกทั้งยังสร้างกลไกยับยั้งการสร้างภูมิคุ้มกันของเซลล์ลำไส้

เกิดการอักเสบ

เมื่อเกิดภาวะเสียสมดุลแบคทีเรียก่อโรคจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและปล่อยสารพิษมาย่อยเซลล์เยื่อเมือกผนังลำไส้ ทำให้แบคทีเรียสามารถผ่านเข้าไปในลำไส้ชั้นในได้ และก่อให้เกิดการอักเสบจากการตอบสนองต่อเชื้อที่บุกรุกเข้ามานี้

เผาผลาญอาหารไม่ดี

หากเรารับประทานอาหารในปริมาณมาก กลไกการย่อยอาหารของมนุษย์อาจไม่สามารถย่อยอาหารเหล่านั้นได้หมด อาหารที่เหลือจะถูกย่อยโดยแบคทีเรียต่างชนิดที่มีเอมไซม์ย่อยอาหารแตกต่างกัน หากเกิดความไม่สมดุลจากการที่แบคทีเรียบางชนิดหายไป จะทำให้เราขาดเอนไซม์ในการย่อยอาหารนั้นๆ จึงส่งผลระบบเผาพลาญเสียสมดุลและย่อยอาหารได้ไม่ดีตามมา

ย่อยอาหารไม่ดี

หลังจากอาหารที่เราย่อยเสร็จมาถึงลำไส้ใหญ่ จุลินทรีย์ในบริเวณนี้จะมีหน้าที่ย่อยกากอาหารที่ยังหลงเหลืออยู่ หากเกิดการเสียสมดุลจุลินทรีย์จะทำให้กระบวนการย่อยช้าลง ส่งผลกับการขับถ่าย และยังเพิ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ดีในลำไส้เล็ก ทำให้เกิดอาการเน้นท้อง ท้องอืด และย่อยอาหารที่เข้ามาใหม่ได้ไม่ดี

ขับถ่ายไม่ปกติ

หากอาหารไม่ถูกย่อยโดยสมบูรณ์เนื่องจากมีความหลากหลายของแบคทีเรียที่ช่วยย่อยอาหารลดลง อาหารจะตกค้างอยู่ในลำไส้เป็นเวลานานและทำให้ขับถ่ายผิดปกติ

ลำไส้แปรปรวน

มีสาเหตุจากการอักเสบซึ่งเกิดจากการเสียสมดุลจุลลินทรีย์และการติดเชื้อ โดยแบคทีเรียก่อโรคที่ไม่ถูกควบคุมจะผลิตสารพิษมากระตุ้นกระบวนการอักเสบ

อ้วน

หากจุลินทรีย์มีความหลากหลายน้อยจะทำให้เราขาดเอนไซม์ในการย่อยอาหารจากจุลลินทรีย์ เมื่อเรากินอาหารในปริมาณมากอาหารจะไม่ถูกย่อยและไม่สามารถดึงพลังงานจากอาหารมาใช้ได้ ทำให้เกิดการสะสมพลังงานและไขมันในที่สุด

ฟันผุ

จากการที่ลำไส้เสียสมดุลและเกิดการสลายของเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ ทำให้เกิดรอยรั่ว แบคทีเรียก่อโรค สารพิษและสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ สามารถผ่านเข้าไปในกระแสเลือดได้ สารพิษเหล่านี้ทำให้ภูมิคุ้มกันในช่องปากลดลงและเกิดฟันผุได้

สาเหตุของการเสียสมดุลของจุลินทรีย์

อาหารที่รับประทาน

การทานอาหารที่มีแป้งและไขมันสูงเป็นประจำ หรือการทานอาหารสำเร็จรูปที่มีสารกันบูด ยาฆ่าแมลง ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้จุลินทรีย์ตัวดีถูกกำจัดไปจากลำไส้

การใช้ขีวิต (Lifestyle)

เช่น การนอนไม่หลับ ความเครียดสะสม การไม่ออกกำลังกาย

การรับประทานยาปฏิชีวนะ

หากมีการรับประทานยาปฏิชีวนะต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานก็อาจทำให้ ส้งคมจุลินทรีย์ขาดความสมดุล เนื่องจากภายในลำไส้ของเรานั้นเต็มไปด้วยแบคทีเรียชนิดต่างๆ ซึ่งมีทั้งแบคทีเรียชนิดที่ดีและแบคทีเรียตัวร้าย การกินยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อเป็นประจำจะทำให้เป็นการฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ ทั้งดีและร้ายในลำไส้ออกไปจนหมดสิ้น และมีผลต่อการเกิดโรคต่างๆ ตามมา

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์

Full 1
จุลินทรียในตัวเรา
มาจากไหน?
Full 1
มดลูกของแม่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันแบคทีเรียและไวรัส แต่เมื่อเราคลอดออกมาจะได้รับจุลินทรีย์ที่แตกต่างกันทันที ขึ้นอยู่กับวิธีการคลอดและสถานที่ที่ทำคลอด

แบคทีเรียจะเริ่มเข้าสู่ตัวทารกทันทีถึงน้ำคร่ำแตก
ถ้าคลอดจากวิธีธรรมชาติเด็กจะได้รับจุลินทรีย์และแบคทีเรีย จากช่องคลอดของแม่โดยตรง แต่ถ้าคลอดจากการผ่าคลอด เด็กจะได้รับจุลินทรีย์และแบคทีเรียจากผิวหนังของแม่ และหมอ พยาบาลที่ผ่าคลอดให้แทน
นมจากแม่ กับนมผง
เด็กที่ดื่มนมแม่จะได้รับแอนติบอดี้จากแม่ ซึ่งสามารถช่วยลด ความเสี่ยงการเป็นโรคภูมิแพ้ได้ แต่เด็กที่ดื่มนมผงจะไม่ได้รับ ภูมิคุ้มกันเหล่านั้น

previous arrow
next arrow
Full 1
โพรไบโอติกส์, พรีไบโอติกส์,
และโพสต์ไบโอติกส์ คืออะไร?
Full 1

โพรไบโอติกส์
ในร่างกายเรามีจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียดีที่
เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งเรามักจะเรียก กันว่าโพรไบโอติกส์ นอกจากนี้เรายัง สามารถกินอาหารจำพวกโยเกิร์ต, กิมจิ, นัตโตะ, และมิโสะ เพื่อเพิ่มประมาณ จุลินทรีย์เหล่านั้นให้กับร่างกาย ได้อีกด้วย
พรีไบโอติกส์
คืออาหารสำหรับหล่อเลี้ยงโพรไบโอติกส์ ส่วนใหญ่จะได้มาจากอาหารที่มีไฟเบอร์สูงที่ร่างกายเราไม่ สามารถย่อยได้ เช่น กระเทียม, หัวหอมใหญ่, ถั่วแดง และผักผลไม้ต่างๆ
โพสต์ไบโอติกส์
คือสารอาหารที่ผลิตโดยโพรไบโอติกส์ ซึ่งจะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงาน ของระบบต่างๆ ในร่างกายเช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบย่อยอาหาร และการควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น

previous arrow
next arrow
Full 1
ลำไส้กับสมอง
เขาคุยกันยังไงนะ?
Full 1

จากการศึกษาพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการอักเสบใน ลำไส้และสุขภาพจิต
ผู้ที่มีอาการป่วยจากโรคที่เกี่ยวกับอาหาร
ก็สามารถเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวลได้เช่นกัน
จุลินทรีย์และแบคทีเรียในทางเดิน อาหารส่งผลต่อประสิทธิภาพการนอนหลับของคนเรา
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบย่อยอาหารกับการนอนหลับนั้นมาจาก สิ่งที่เรียกว่าแกน จุลินทรีย์ของสมองและลำไส้ ซึ่งสามารถส่ง ข้อมูลแบบสองทิศทางระหว่างสองระบบได้นี้มีแนวโน้มที่จะได้รับอิทธิพลจากการทำงานของจุลินทรีย์และการควมคุมยีนการนอนหลับ

previous arrow
next arrow
จุลินทรียในตัวเรามาจากไหน?

มดลูกของแม่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันแบคทีเรียและไวรัส แต่เมื่อเราคลอดออกมาจะได้รับจุลินทรีย์ที่แตกต่างกันทันที ขึ้นอยู่กับวิธีการคลอดและสถานที่ที่ทำคลอด

  • แบคทีเรียจะเริ่มเข้าสู่ตัวทารกทันทีถึงน้ำคร่ำแตก
    ถ้าคลอดจากวิธีธรรมชาติเด็กจะได้รับจุลินทรีย์และแบคทีเรีย จากช่องคลอดของแม่โดยตรง แต่ถ้าคลอดจากการผ่าคลอด เด็กจะได้รับจุลินทรีย์และแบคทีเรียจากผิวหนังของแม่ และหมอ พยาบาลที่ผ่าคลอดให้แทน
  • นมจากแม่ กับนมผง
    เด็กที่ดื่มนมแม่จะได้รับแอนติบอดี้จากแม่ ซึ่งสามารถช่วยลด ความเสี่ยงการเป็นโรคภูมิแพ้ได้ แต่เด็กที่ดื่มนมผงจะไม่ได้รับ ภูมิคุ้มกันเหล่านั้น

โพรไบโอติกส์, พรีไบโอติกส์,
และโพสต์ไบโอติกส์ คืออะไร?

  • โพรไบโอติกส์
    ในร่างกายเรามีจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียตัวดีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งเรามักจะเรียกกันว่าโพรไบโอติกส์ มีอยู่ในอาหารจำพวก โยเกิร์ต, กิมจิ, นัตโตะ และมิโสะ
  • พรีไบโอติกส์
    คืออาหารสำหรับโพรไบโอติกส์ ส่วนใหญ่อยู่ในอาหารที่มีไฟเบอร์สูง และร่างกายของเราไม่สามารถย่อยได้ เช่น กระเทียม, หัวหอมใหญ่, ถั่วแดง และผักผลไม้ต่างๆ
  • โพสต์ไบโอติกส์
    คือสารที่ผลิตโดยโพรไบโอติกส์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย  เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน  ระบบย่อยอาหาร และการควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น

ลำไส้กับสมองเขาคุยกันยังไงนะ?

  • จากการศึกษาพบว่ามีความเชื่อมโยงกันระหว่างการอักเสบในลำไส้ และสุขภาพจิต
    ผู้ที่มีอาการป่วยจากโรคที่เกี่ยวกับอาหารก็สามารถเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวลได้เช่นกัน
  • จุลินทรีย์และแบคทีเรียในทางเดินอาหารส่งผลต่อ ประสิทธิภาพการนอนหลับของคนเรา
    การสื่อสารระหว่างสมอง และลำไส้ (Gut-Brain Axis) ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลระหว่างสมองกับลำไส้ โดยได้รับอิทธิพลจากการทำงานของจุลินทรีย์ และควบคุมยีนการนอนหลับด้วย นอกจากนั้นยังมีเรื่องของสารที่ชื่อว่าเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งภายในร่างกายที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของสมอง และระบบประสาท ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการคิด พฤติกรรม อารมณ์ รวมถึงการนอนหลับด้วย

illustration-14-pfyp7urb9u42jlss3blm3egsbzrvpj1y40ncla5w0w

แพทย์แผนคุณ

เพราะจุลินทรีย์ของเราไม่เหมือนกัน
การรักษาตรงจุดเฉพาะบุคคลจึงสำคัญ

แม้จะอยู่ที่เดียวกัน ร้านเดียวกัน หรือกินเมนูเดียวกัน แต่จุลินทรีย์ในร่างกายก็มีต้นทุนไม่เหมือนกัน ดังนั้นการวิธีการดูแลสุขภาพจึงต้องต่างกัน มาทำความรู้จักจุลินทรีย์ที่อยู่ในตัวเรา เพื่อให้การดูแลสุขภาพนั้นเหมาะกับตัวเราเองมากที่สุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า